วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ปฏิบัติการที่ 6 ปริมาณของแข็งรวม ปริมาณสารที่เผาไหม้ได้ ปริมาณเถ้า ค่าปริมาณคาร์บอน ค่าปริมาณไฮโดรเจน

ทฤษฎีเพิ่มเติม
ปริมาณของแข็งรวม หมายถึง ปริมาณขยะที่แห้งสนิท
การคำนวณ
T = 100 – M
โดยที่
T = ปริมาณของแข็งรวม (เปอร์เซ็นต์)
M = ค่าความชื้น (เปอร์เซ็นต์)
ปริมาณสารที่เผาไหม้ได้ หมายถึง ส่วนของขยะที่เหลือจากการเผาไหม้เป็นส่วนที่สามารถติดไฟ หรือเผาไหม้ได้ที่ความร้อนสูง โดยแปลงสภาพเป็นก๊าซ และไอน้ำ
การคำนวณ
V = W1 - W2 / W1 X 100
โดยที่
V = ค่าปริมาณของแข็งที่เผาไหม้ได้ (เปอร์เซ็นต์)
W1 = น้ำหนักขยะก่อนเผา
W2 = น้ำหนักขยะหลังจากเผา
ปริมาณเถ้า หมายถึง ส่วนของขยะที่เหลือจากการเผาไหม้หาได้จากการคำนวณหรือคิดจากน้ำหนักของ ขยะที่เหลือหลังจากเผาในถ้วยกระเบื้องทนความร้อนที่อุณหภูมิ 950 องศา
การคำนวณ
Ash Content = T – V
โดยที่
Ash Content = ร้อยละของปริมาณเถ้า
T = ร้อยละของปริมาณของแข็งรวม
V = ร้อยละของปริมาณสารที่เผาไหม้ได้
หน่วยของปริมาณสารที่เผาไหม้ได้ และค่าปริมาณเถ้าเท่ากับร้อยละของขยะ


ค่าปริมาณของคาร์บอนจากขยะสามารถคำนวณได้โดยใช้สูตรต่อไปนี้
การคำนวณ
ค่าปริมาณคาร์บอน = ค่าปริมาณสารที่เผาไหม้ได้ (V) / 1.8
หน่วยของค่าปริมาณคาร์บอนและค่าปริมาณสารที่เผาไหม้ได้ = ร้อยละของขยะทั้งหมด

ค่าปริมาณไฮโดรเจน จากขยะสามารถคำนวณได้โดยใช้สูตรดังต่อไปนี้
การคำนวณ
ค่าปริมาณไฮโดนเจน = ค่าปริมาณสารที่เผาไหม้ได้ (V) / 1.6
หน่วยของค่าปริมาณไฮโดรเจนและค่าปริมาณสารที่เผาไหม้ได้ = ร้อยละของขยะทั้งหมด


วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถหาปริมาณของแข็งรวมได้
2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถหาปริมาณสารที่เผาไหม้ได้
3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถหาปริมาณเถ้าได้
4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถหาค่าปริมาณคาร์บอนได้
5. เพื่อให้นักศึกษาสามารถหาค่าปริมาณไฮโดรเจนได้

อุปกรณ์ในการวิเคราะห์ปริมาณสารที่เผาไหม้ได้
1. ตู้อบ (Hot air Oven)
2. เครื่องชั่งน้ำหนัก
3. ตู้ดูดความชื้น (Desiccators)
4. เครื่องบดขยะ
5. เตาเผา
6. ถ้วยกระเบื้องทนความร้อน


อุปกรณ์ในการวิเคราะห์ปริมาณของแข็งระเหยได้และปริมาณเถ้า
1. ตู้อบ (Hot air Oven)
2. Desiccators
3. เครื่องบดหรือสับมูลฝอย
4. เครื่องชั่งน้ำหนัก
5. Porcelain crucible
6. Muffle Furnace

วิธีการทดลองหาปริมาณสารที่เผาไหม้ได้
1. นำตัวอย่างขยะที่ผ่านการ Quartering และผ่านบดขยะที่อบแห้งสนิทแล้วให้มีขนาด 1.0 ม.ม.
2. อบขยะในตู้อบที่อุณหภูมิ 75 องศา ประมาณ 2 ซม.
3. ปล่อยทิ้งให้เย็นใน Desiccators
4. สุ่มตัวอย่างประมาณ 3-6 กรัม ใส่ในถ้วยกระเบื้องทนความร้อนที่ทราบน้ำหนักแล้ว ชั่งน้ำหนักรวมของขยะและถ้วยกระเบื้อง
5. นำไปเผาในเตาเผาที่อุณหภูมิ 950 องศา ประมาณ 1-2 ชั่วโมง หรือจนน้ำหนักคงที่
6. ปล่อยทิ้งให้เย็นใน Desiccators ประมาณ 1-2 ชั่วโมง
7. ชั่งน้ำหนักขยะพร้อมถ้วยกระเบื้อง

วิธีการทดลองหาปริมาณของแข็งระเหยได้และปริมาณเถ้า
1. ชั่งน้ำหนักตัวอย่างมูลฝอยที่อบแห้งสนิท ประมาณ 3-5 กรัม ใส่ใน Porcelain crucible ที่ทราบน้ำหนักแน่นอน และชั่งน้ำหนักรวมอีกครั้ง จดบันทึกน้ำหนักรวมน้ำหนัก Porcelain crucible
2. นำไปเผาใน Muffle Furnace ที่อุณหภูมิ 600 -650 องศา เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ปล่อยทิ้งให้เย็นจนสามารถนำออกมาไว้ใน Desiccators
3. ทิ้งไว้ใน Desiccators ประมาณ 1-2 ชั่วโมง และชั่งน้ำหนัก Porcelain crucible อีกครั้ง จดบันทึกและคำนวณตามสูตร


ผลการทดลอง



สรุปผลการทดลอง
จากการทดลองสรุปว่า ค่าปริมาณของแข็งที่ได้ เท่ากับ 31.12 % ค่าปริมาณสารที่เผาไหม้ได้ เท่ากับ 93.12 % ค่าปริมาณเถ้า เท่ากับ 62.01 % ค่าปริมาณคาร์บอน เท่ากับ 51.73 % และค่าปริมาณไฮโดรเจน เท่ากับ 58.20 % แสดงให้เห็นว่าในขยะที่ได้สุ่มมานั้นมีปริมาณคาร์บอนและไฮโดรเจน ที่มาก ซึ่งส่งผลไม่ดีต่อสุขภาพของคน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น