วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ปฏิบัติการที่ 1 การสุ่มตัวอย่าง


ทฤษฎีเพิ่มเติม
เนื่องจากขยะประกอบด้วยสิ่งของต่างๆหลายชนิด ซึ่งมิได้มีการผสมเป็นเนื้อเดียวกัน ดังนั้นการสุ่มตัวอย่างขยะจำเป็นต้องทำอย่างเป็นระบบ เพื่อให้มีลักษณะองศ์ประกอบเหมือนกับขยะทั้งหมด และสามารถใช้เป็นตัวแทนของขยะที่ต้องการวิเคราะห์ได้ต้องพยายามทำให้ขยะรวมเป็นเนื้อเดียวกันให้มากที่สุด เพื่อให้ลักษณะขององศ์ประกอบของขยะเหมือนๆกันทุกส่วน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักศึกษาได้รู้วิธีการสุ่มตัวอย่างของขยะ
2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถ ทำ Quartering ได้
3. เพื่อให้นักศึกษาได้รู้ประเภทของขยะแต่ละชนิด

อุปกรณ์ในการวิเคราะห์
1. อุปกรณ์ในการคลุกเคล้าขยะ เช่น พลั่ว จอบ เป็นต้น
2. เชือกสำหรับแบ่งขยะ
3. ถังที่ทราบปริมาณแน่นอนเพื่อตวงขยะ
4. เครื่องชั่งน้ำหนัก
5. ถุงมือ
6. ผ้าปิดจมูก
7. ถุงดำ
8. ผ้ายางสำหลับรองพื้น

วิธีการทดลอง
1. การเก็บตัวอย่างขยะกระทำได้โดย สุ่มตัวอย่างขยะจากแหล่งกำเนิดต่างๆหรือจากรถเก็บขนขยะทุกคัน ทำการเก็บตัวอย่างจากหลายๆจุดของแหล่งกำเนิดหรือจากรถเก็บขนจนแน่ใจว่าขยะที่ได้เป็นตัวแทนที่เหมาะสมจากกองขยะเหล่านั้น สุ่มตัวอย่างขยะประมาณ 1 ลบ.ม.
2. นำขยะทั้งหมดที่ได้มาประมาณ 1-2 ลบ.ม. มาเทกองร่วมกันบนอุปกรณ์ปูพื้นที่ได้เตรียมไว้ ทำการคลุกเคล้าให้องศ์ประกอบต่างๆกระจายกันอย่างทั่วถึง นำขยะมากองรวมกันแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันมากที่สุด
3. กองขยะในลักษณะสมมาตรรูปกรวย แบ่งกองขยะออกเป็น 4 ส่วน (Quartering) เลือก 2 ส่วนที่กองอยู่ตรงกันข้ามมาร่วมกัน ส่วนที่เหลือแยกทิ้งไป แล้วคลุกให้เข้ากันอีกครั้ง ให้องศ์ประกอบต่างๆ กระจายอย่างสม่ำเสมอ ส่วนที่เหลือให้แยกออกแล้วนำกลับไปทิ้ง
4. ทำ Quartering ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งได้ตัวอย่างขยะในปริมาณที่ต้องการโดยปกติจะเหลือตัวอย่างขยะไว้ประมาณ 50 ลิตร หรือ 15 กิโลกรัม แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของปริมาตรตู้อบหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ แล้วจึงนำตัวอย่างขยะที่ได้ไปวิเคราะห์องค์ประกอบหรือลักษณะอื่นๆต่อไป





ผลการทดลอง
สุ่มเก็บตัวอย่างจากสถานที่ต่างๆ คือ บริเวณ
1. โรงอาหารมหาวิทยาลัย
2. สนามกีฬา
3. ห้องสมุดกลาง
4. อื่นๆ

สรุปผลการทดลอง
จากการทดลองสรุปว่าการสุ่มเก็บขยะจากที่ต่างๆจะได้ขยะที่แตกต่างกันออกไป เช่น บริเวณโรงอาหารก็จะได้ขยะประเภทเศษอาหารเครื่องดื่มต่างๆ บริเวณสนามกีฬาก็จะได้พวกขวดน้ำ บริเวณห้องสมุดกลางก็จะได้เศษกระดาษ และบริเวณอื่นๆก็จะได้เศษของใบไม้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น