วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ปฏิบัติการที่ 5 ความชื้น (Moisture/Water Content)

ทฤษฎีเพิ่มเติม
ความชื้น หมายถึง ปริมาณน้ำที่มีอยู่ในขยะ โดยทั่วไปน้ำที่มีอยู่ในขยะจะเป็นน้ำภายในตัวของขยะเอง (Inherent Water) เช่น น้ำที่อยู่ในพืช ผัก เศษอาหาร ซึ่งมรประมาณ 1/2 ถึง 2/3 ของปริมาณน้ำทั้งหมด และน้ำที่ติดอยู่ภายนอก (Attached Water) เช่น น้ำฝน น้ำที่ออกมาจากเศษอาหาร จะมีประมาณ 1/3 ถึง 1/2 ของปริมาณน้ำทั้งหมด

การคำนวณ
M = W1 – W2 / W1 X 100
โดยที่
M = ค่าความชื้น (เปอร์เซ็นต์)
W1 = น้ำหนักขยะก่อนอบ
W2 = น้ำหนักขยะหลังจากอบ

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักศึกษาได้รู้ความชื้นของขยะ
2. เพื่อให้นักศึกษาได้รู้วิธีการหาปริมาณความชื้นของขยะ

อุปกรณ์ในการวิเคราะห์
1. ตู้อบ (Hot air Oven)
2. ถาดอลูมิเนียม
3. เครื่องชั่งน้ำหนัก






วิธีการทดลอง
1. ชั่งน้ำหนักถาดอลูมิเนียมเปล่า
2. สุ่มตัวอย่างขยะ ประมาณ 50 ลิตร ใส่ถาดอลูมิเนียมแล้วชั่งน้ำหนัก
3. อบขยะในตู้อบที่อุณหภูมิ 75 -100 องศา ประมาณ 9-4 วัน อบที่อุณหภูมิ 105 องศา มากกว่า 1 ชั่วโมง (จนแห้งสนิท หรือน้ำหนักขยะคงที่)
4. ชั่งน้ำหนักขยะที่อบแล้ว
5. ทำการหาค่าความชื้นด้วยเครื่องหาค่าความชื้นอัตโนมัติ และหัวเซ็นเซอร์วัดความชื้นอัตโนมัติแล้วนำค่ามาเทียบกัน

ผลการทดลอง
จากสูตร M = W1 – W2 / W1 X 100
W1 = 2.1
W2 = 0.6535
จะได้ M = 2.1 – 0.6535 / 2.1 X 100
= 68.88 %

สรุปผลการทดลอง
จากการทดลองสรุปว่าค่าความชื้นที่ได้ เท่ากับ 68.88 เปอเซ็นต์ แสดงว่าจากการสุ่มตัวอย่างขยะมามีปริมาณน้ำที่มีอยู่ในขยะเกินครึ่งของขยะซึ่งมาจากพวกเศษใบไม้เศษหญ้าต่างๆ

รูปภาพประกอบการทดลอง


ทิ้งขยะไว้ปล่อยให้แห้ง


กระบดขยะ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น