วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ปฏิบัติการที่ 3 ความแน่นหนา (Density)


ทฤษฎีเพิ่มเติม
ค่าความหนาแน่นของขยะ คือ สัดส่วนของน้ำหนักของขยะต่อปริมาตรที่ขยะนั้นบรรจุอยู่ แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือความหนาแน่นปกติ (Bulk Density) และความหนาแน่นขยะขนส่ง (Transported Density)
ความหนาแน่นปกติ หมายถึง ค่าความหนาแน่นของขยะในภาชนะเก็บรวบรวมขยะซึ่งตามปกติจะมีการอัดให้แน่นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ความหนาแน่นในขณะขนส่ง หมายถึง ความหนาแน่นของขยะในรถยนต์เก็บขนขณะในขณะขนส่งขยะซึ่งตามปกติจะถูกทำให้แน่นจากการสั่นสะเทือนและจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ที่เก็บขน
การคำนวณ
ค่าความหนาแน่นปกติ D = W2 – W1 / V
โดยที่
D = ความหนาแน่นปกติ
W1 = น้ำหนักภาชนะตวงขยะเปล่า
W2 = น้ำหนักภาชนะตวงขยะที่มีขยะ
V = ปริมาตรภาชนะตวง
หน่วยความหนาแน่นคือ กิโลกรัมต่อลิตร หรือตันต่อลูกบาศก์เมตร

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักศึกษาได้รู้วิธีการหาค่าความหนาแน่นของขยะ
2. เพื่อศึกษาว่าขยะมีการอัดตัวกันแน่นเท่าใด

อุปกรณ์ในการวิเคราะห์
1. ภาชนะตวงขยะความจุ 50 – 100 ลิตร
2. เครื่องชั่งน้ำหนัก
3. อุปกรณ์สำหรับคลุกเคล้าขยะ
4. ถุงมือ หน้ากากสวมป้องกันฝุ่น


วิธีการทดลอง
1. ชั่งน้ำหนักถังตวงเปล่า
2. นำขยะที่ได้จากการ Quartering และผ่านการคลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน จนเหลือประมาณ 50 ลิตร ใส่ภาชนะตวงขยะ
3. ยกภาชนะตวงขยะสูงจากพื้น 30 ซม. แล้วปล่อยให้กระแทกกับพื้น 3 ครั้ง หากปริมาณขยะในภาชนะตวงลดลงกว่าระดับที่กำหนดให้เติมขยะลงไปจนได้ระดับโดยไม่มีการอัดเพิ่ม
4. ชั่งน้ำหนักภาชนะตวงที่มีขยะ
5. ทดลองหาค่าความหนาแน่นตามวิธีการตามข้อ1-4 หลายๆครั้ง เพื่อหาค่าเฉลี่ย

ผลการทดลอง
ตัวอย่างที่ ปริมาณภาชนะ(V) น้ำหนักภาชนะเปล่า น้ำหนักภาชนะที่มีขยะ ความหนาแน่น
1----------------- 22 kg----------------- 1 kg--------------- 2.1 kg---------- 0.05
2----------------- 22 kg----------------- 1 kg--------------- 2.2 kg---------- 0.055
3----------------- 22 kg----------------- 1 kg--------------- 2.2 kg---------- 0.055
เฉลี่ย------------ 22 kg------------- 1 kg------------ 2.1 kg---------- 0.05




สรุปผลการทดลอง
จากการทดลองการหาความหนาแน่นพบว่า ค่าความหนาแน่นที่ได้ เท่ากับ 0.05

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น