วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ปฏิบัติการที่ 8 ปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมด (Total Phosphorus)

ทฤษฎีเพิ่มเติม
ปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมด หมายถึง ปริมาณของฟอสฟอรัสทั้งหมดในขยะซึ่งจะอยู๋ในรูปของสารละลายประกอบออโทฟอสเฟต(Ortho - Phosphate)

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักศึกษาได้รู้วิธีการหาปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมดของขยะ

อุปกรณ์ในการวิเคราะห์
1. ตู้อบ (Hot air Oven)
2. เดสิเคเตอร์ (Desiccators)
3. เครื่องชั่งน้ำหนักอย่างละเอียด
4. เครื่องบดขยะ
5. Hot plate
6. ชุดเครื่องแก้วสำหรับ Digest ที่ผ่านการทำความสะอาดด้วย HCl หรือ NHO3 แล้วล้างด้วยน้ำประปาหรือน้ำกลั่นอีกครั้ง
7. ตู้ควัน (Hood)

สารเคมี
1. 5 N H2SO4
2. Antimony potassium tartrate solution
3. Ammonium molybdete solution
4. Ascorbic acid
5. Combined reagent : 5 N H2SO4 , Antimony potassium tartrate solution , Ammonium molybdete solution , Ascorbic acid
6. Sulfuric acid conc
7. Ammonium persulfate
8. stock phosphate solution
9. standard phosphous solution
10. 6 N Sodium hydroxide



วิธีการทดลอง
นำขยะที่ผ่านการอบแห้งสนิท แล้วมาอบในตู้อบที่อุณหภูมิ 75 องศา เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ปล่อยให้เย็นในเดสิเคเตอร์ จากนั้นสุ่มตัวอย่างขยะมาประมาณ 1-2 กรัม นำมาวิเคราะห์ด้วยวิธี Acorbic acid method ตามขั้นตอนดังนี้
1. การDigestตัวอย่าง ชั่งตัวอย่างมาประมาณ 1 กรัม ใส่ Kjeldahl flask ใส่ cone. H2SO4 25 ml ใส่ Ammonium persulfate ประมาณ 0.4 กรัม เพื่อเป็น catalyst ใส่เม็ดแก้ว เพื่อกระจายความร้อน จนกระทั่งสมบรูณ์ คือ สารละลายใส แต่บางครั้งในขยะมี Interference ซึ่งจะทำให้สารละลายที่ได้เป็นสารละลายเข้มออกใสจากนั้นทิ้งไว้ให้เย็นนำมาปรับ pH จนได้ค่าประมาณ 7
2. ทำให้เกิดสี หลังจากปรับ pH จนได้ 7 แล้ว นำตัวอย่างมาปรับปริมาตรให้เป็น 200 ml จากนั้นนำตัวอย่างมาในอัตราส่วนต่างๆ โดยปรับปริมาตรให้เป็น 50 ml จากนั้นเติม 0.8ml ของ Combined reagent จะได้น้ำเงินถึงน้ำเงินเข้มแล้วนำไปวัดค่า color absorbance ที่ 880 mm ภายใน 10 -30 นาที
3. นำค่า absorbance มาเปรียบเทียบ standard curve
ผลการทดลอง




ภาพประกอบ




สรุปผลการทดลอง
เนื่องจากค่าที่ได้จากน้ำตัวอย่าง เกิดจากการ dilute เวลาต้องการปริมาณที่แท้จริงจึงต้อง คูณ 10 เพราะจะได้ความเข้มที่แท้จริง เช่น 0.122 x 10 = 1.22 mg/1 ทำให้สามารถเปรียบเทียบค่า Standard Curve ได้พบว่าตัวอย่างครั้งที่ 1 และครั้งที่ 3 ค่าอยู่ที่ช่วง 0.297 ปริมาณ Standard Solution 15 ml.

ปฏิบัติการที่ 7 ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (Total nitrogen content)

ทฤษฎีเพิ่มเติม
ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด หมายถึง ปริมาณไนโตรเจนในตัวอย่างขยะ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของ Organic – Nitrogen หรือ Ammonia - Nitrogen
การคำนวณ
Nt = (A – B) x N x 14 x 100 / C
โดยที่
Nt = ร้อยละของปริมาณไนโตรเจน
A = ปริมาณสารละลายมาตรฐาน Sulfuric acid ที่ใช้ไตเตรดตัวอย่างขยะ (ml)
B = ปริมาณสารละลายมาตรฐาน Sulfuric acid ที่ใช้ไตเตรด Blank (ml)
C = น้ำหนักของตัวอย่างขยะ (mg)
N = Normality ของสารละลายมาตรฐาน Sulfuric acid (N)

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักศึกษาได้รู้วิธีการหาปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดของขยะ
2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้สูตรใรการหาปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดได้

อุปกรณ์ในการวิเคราะห์
1. ตู้อบ (Hot air Oven)
2. เดสิเคเตอร์ (Desiccator)
3. เครื่องชั่งน้ำหนักอย่างละเอียด
4. เครื่องบดขยะ
5. Hot plate
6. ชุดวิเคราะห์ไนโตรเจน
7. ตู้ควัน (Hood)



สารเคมี
1. น้ำกลั้นที่ปราศจากแอมโมเนีย
2. Potassium Sulfate (K2SO4)
3. Red mercuric oxide (HgO)
4. Sulfuric acid concentrated (95-98%)
5. Furming stonge
6. Alkaline thiosulfate solution
7. Boric acid solution
8. Methyl purple solution(indicator)
9. สารละลายมาตรฐาน Sulfuric acid
10. Phenolphthalein indicator
วิธีการทดลอง
นำขยะที่ผ่านการอบแห้งสนิทและละเอียดจนมีขนาด 1 มิลลิลิตร แล้วมาอบในตู้อบที่อุณหภูมิ 75 องศา เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ปล่อยให้เย็นในเดสิเคเตอร์ จากนั้นสุ่มตัวอย่างขยะมาประมาณ 0.5-1 กรัม นำมาวิเคราะห์ด้วยวิธี Kjeldahl-Wilfarth-Gunning-Winkler method ตามขั้นตอนดังนี้
1. การDigestตัวอย่าง ชั่งตัวอย่างมาประมาณ 0.5 – 1 กรัม ใส่ Kjeldahl flask เติม K2SO4 15 กรัม เติม HgO 0.7กรัม เติม K2SO4 กับ Na2S2O3 Solution 75 ml ทำการ Digest จนสารละลายที่ได้มีลักษณะใสซึ่งต้องใช้เวลานานมาก และถ้าสารละลายแห้งควรเพิ่ม กรดเข้าไปDigest ต่อจนใส
2. การกลั่น เติมน้ำกลั่นประมาณ 250 ml หยด Phenolphthalein indicatorจากนั้นเติมสารละลายผสมของ NaOH กับ Na2S2O3 solution 75 ml จะได้สีชมพู กลั่นโดยใช้ Boric acid 4% ในปริมาตร 50 ml เป็นตัวปรับ NH3 กลั่นจนได้ปริมาตร 200 ml นำมาไตเตรด หา NH3
3. การไตเตรด นำสารละลายที่กลั่นได้มาไตเตรดด้วยสารละลายมาตรฐาน Sulfuric acid โดยใช้ Methyl purple solution(indicator) เป็น indicator จนกระทั่งถึงจุด end point โดยสีของสารละลายที่ได้จะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีม่วง
4. การเตรียม Blank ทำตามขั้นตอน 1-3 โดยไม่ต้องใส่ตัวอย่างขยะ






ผลการทดลอง
จากสูตร Nt = (A – B) x N x 14 x 100 / C
A = 25.67 ml
B = 0.6 ml
C = 25 mg
N = 0.05 N
จะได้ Nt = (25.67 – 0.6) x 0.05 x 14 x 100 / 25
= 70.19 %

สรุปผลการทดลอง
จากการทดลองสรุปว่าค่าปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดของขยะมีเท่ากับ 70.19 % ซึ่งพบว่ามีปริมาณที่สูงเมื่อขยะพวกนี้ถูกการเผาไหมก็จะทำให้เกิดมลพิษต่อโลกเป็นจำนวนมาก

ปฏิบัติการที่ 6 ปริมาณของแข็งรวม ปริมาณสารที่เผาไหม้ได้ ปริมาณเถ้า ค่าปริมาณคาร์บอน ค่าปริมาณไฮโดรเจน

ทฤษฎีเพิ่มเติม
ปริมาณของแข็งรวม หมายถึง ปริมาณขยะที่แห้งสนิท
การคำนวณ
T = 100 – M
โดยที่
T = ปริมาณของแข็งรวม (เปอร์เซ็นต์)
M = ค่าความชื้น (เปอร์เซ็นต์)
ปริมาณสารที่เผาไหม้ได้ หมายถึง ส่วนของขยะที่เหลือจากการเผาไหม้เป็นส่วนที่สามารถติดไฟ หรือเผาไหม้ได้ที่ความร้อนสูง โดยแปลงสภาพเป็นก๊าซ และไอน้ำ
การคำนวณ
V = W1 - W2 / W1 X 100
โดยที่
V = ค่าปริมาณของแข็งที่เผาไหม้ได้ (เปอร์เซ็นต์)
W1 = น้ำหนักขยะก่อนเผา
W2 = น้ำหนักขยะหลังจากเผา
ปริมาณเถ้า หมายถึง ส่วนของขยะที่เหลือจากการเผาไหม้หาได้จากการคำนวณหรือคิดจากน้ำหนักของ ขยะที่เหลือหลังจากเผาในถ้วยกระเบื้องทนความร้อนที่อุณหภูมิ 950 องศา
การคำนวณ
Ash Content = T – V
โดยที่
Ash Content = ร้อยละของปริมาณเถ้า
T = ร้อยละของปริมาณของแข็งรวม
V = ร้อยละของปริมาณสารที่เผาไหม้ได้
หน่วยของปริมาณสารที่เผาไหม้ได้ และค่าปริมาณเถ้าเท่ากับร้อยละของขยะ


ค่าปริมาณของคาร์บอนจากขยะสามารถคำนวณได้โดยใช้สูตรต่อไปนี้
การคำนวณ
ค่าปริมาณคาร์บอน = ค่าปริมาณสารที่เผาไหม้ได้ (V) / 1.8
หน่วยของค่าปริมาณคาร์บอนและค่าปริมาณสารที่เผาไหม้ได้ = ร้อยละของขยะทั้งหมด

ค่าปริมาณไฮโดรเจน จากขยะสามารถคำนวณได้โดยใช้สูตรดังต่อไปนี้
การคำนวณ
ค่าปริมาณไฮโดนเจน = ค่าปริมาณสารที่เผาไหม้ได้ (V) / 1.6
หน่วยของค่าปริมาณไฮโดรเจนและค่าปริมาณสารที่เผาไหม้ได้ = ร้อยละของขยะทั้งหมด


วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถหาปริมาณของแข็งรวมได้
2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถหาปริมาณสารที่เผาไหม้ได้
3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถหาปริมาณเถ้าได้
4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถหาค่าปริมาณคาร์บอนได้
5. เพื่อให้นักศึกษาสามารถหาค่าปริมาณไฮโดรเจนได้

อุปกรณ์ในการวิเคราะห์ปริมาณสารที่เผาไหม้ได้
1. ตู้อบ (Hot air Oven)
2. เครื่องชั่งน้ำหนัก
3. ตู้ดูดความชื้น (Desiccators)
4. เครื่องบดขยะ
5. เตาเผา
6. ถ้วยกระเบื้องทนความร้อน


อุปกรณ์ในการวิเคราะห์ปริมาณของแข็งระเหยได้และปริมาณเถ้า
1. ตู้อบ (Hot air Oven)
2. Desiccators
3. เครื่องบดหรือสับมูลฝอย
4. เครื่องชั่งน้ำหนัก
5. Porcelain crucible
6. Muffle Furnace

วิธีการทดลองหาปริมาณสารที่เผาไหม้ได้
1. นำตัวอย่างขยะที่ผ่านการ Quartering และผ่านบดขยะที่อบแห้งสนิทแล้วให้มีขนาด 1.0 ม.ม.
2. อบขยะในตู้อบที่อุณหภูมิ 75 องศา ประมาณ 2 ซม.
3. ปล่อยทิ้งให้เย็นใน Desiccators
4. สุ่มตัวอย่างประมาณ 3-6 กรัม ใส่ในถ้วยกระเบื้องทนความร้อนที่ทราบน้ำหนักแล้ว ชั่งน้ำหนักรวมของขยะและถ้วยกระเบื้อง
5. นำไปเผาในเตาเผาที่อุณหภูมิ 950 องศา ประมาณ 1-2 ชั่วโมง หรือจนน้ำหนักคงที่
6. ปล่อยทิ้งให้เย็นใน Desiccators ประมาณ 1-2 ชั่วโมง
7. ชั่งน้ำหนักขยะพร้อมถ้วยกระเบื้อง

วิธีการทดลองหาปริมาณของแข็งระเหยได้และปริมาณเถ้า
1. ชั่งน้ำหนักตัวอย่างมูลฝอยที่อบแห้งสนิท ประมาณ 3-5 กรัม ใส่ใน Porcelain crucible ที่ทราบน้ำหนักแน่นอน และชั่งน้ำหนักรวมอีกครั้ง จดบันทึกน้ำหนักรวมน้ำหนัก Porcelain crucible
2. นำไปเผาใน Muffle Furnace ที่อุณหภูมิ 600 -650 องศา เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ปล่อยทิ้งให้เย็นจนสามารถนำออกมาไว้ใน Desiccators
3. ทิ้งไว้ใน Desiccators ประมาณ 1-2 ชั่วโมง และชั่งน้ำหนัก Porcelain crucible อีกครั้ง จดบันทึกและคำนวณตามสูตร


ผลการทดลอง



สรุปผลการทดลอง
จากการทดลองสรุปว่า ค่าปริมาณของแข็งที่ได้ เท่ากับ 31.12 % ค่าปริมาณสารที่เผาไหม้ได้ เท่ากับ 93.12 % ค่าปริมาณเถ้า เท่ากับ 62.01 % ค่าปริมาณคาร์บอน เท่ากับ 51.73 % และค่าปริมาณไฮโดรเจน เท่ากับ 58.20 % แสดงให้เห็นว่าในขยะที่ได้สุ่มมานั้นมีปริมาณคาร์บอนและไฮโดรเจน ที่มาก ซึ่งส่งผลไม่ดีต่อสุขภาพของคน

ปฏิบัติการที่ 5 ความชื้น (Moisture/Water Content)

ทฤษฎีเพิ่มเติม
ความชื้น หมายถึง ปริมาณน้ำที่มีอยู่ในขยะ โดยทั่วไปน้ำที่มีอยู่ในขยะจะเป็นน้ำภายในตัวของขยะเอง (Inherent Water) เช่น น้ำที่อยู่ในพืช ผัก เศษอาหาร ซึ่งมรประมาณ 1/2 ถึง 2/3 ของปริมาณน้ำทั้งหมด และน้ำที่ติดอยู่ภายนอก (Attached Water) เช่น น้ำฝน น้ำที่ออกมาจากเศษอาหาร จะมีประมาณ 1/3 ถึง 1/2 ของปริมาณน้ำทั้งหมด

การคำนวณ
M = W1 – W2 / W1 X 100
โดยที่
M = ค่าความชื้น (เปอร์เซ็นต์)
W1 = น้ำหนักขยะก่อนอบ
W2 = น้ำหนักขยะหลังจากอบ

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักศึกษาได้รู้ความชื้นของขยะ
2. เพื่อให้นักศึกษาได้รู้วิธีการหาปริมาณความชื้นของขยะ

อุปกรณ์ในการวิเคราะห์
1. ตู้อบ (Hot air Oven)
2. ถาดอลูมิเนียม
3. เครื่องชั่งน้ำหนัก






วิธีการทดลอง
1. ชั่งน้ำหนักถาดอลูมิเนียมเปล่า
2. สุ่มตัวอย่างขยะ ประมาณ 50 ลิตร ใส่ถาดอลูมิเนียมแล้วชั่งน้ำหนัก
3. อบขยะในตู้อบที่อุณหภูมิ 75 -100 องศา ประมาณ 9-4 วัน อบที่อุณหภูมิ 105 องศา มากกว่า 1 ชั่วโมง (จนแห้งสนิท หรือน้ำหนักขยะคงที่)
4. ชั่งน้ำหนักขยะที่อบแล้ว
5. ทำการหาค่าความชื้นด้วยเครื่องหาค่าความชื้นอัตโนมัติ และหัวเซ็นเซอร์วัดความชื้นอัตโนมัติแล้วนำค่ามาเทียบกัน

ผลการทดลอง
จากสูตร M = W1 – W2 / W1 X 100
W1 = 2.1
W2 = 0.6535
จะได้ M = 2.1 – 0.6535 / 2.1 X 100
= 68.88 %

สรุปผลการทดลอง
จากการทดลองสรุปว่าค่าความชื้นที่ได้ เท่ากับ 68.88 เปอเซ็นต์ แสดงว่าจากการสุ่มตัวอย่างขยะมามีปริมาณน้ำที่มีอยู่ในขยะเกินครึ่งของขยะซึ่งมาจากพวกเศษใบไม้เศษหญ้าต่างๆ

รูปภาพประกอบการทดลอง


ทิ้งขยะไว้ปล่อยให้แห้ง


กระบดขยะ



ปฏิบัติการที่ 4 องค์ประกอบของขยะ

ทฤษฎีเพิ่มเติม
องค์ประกอบของขยะหมายถึง ประเภทของขยะแต่ละอย่างที่รวมอยู่ในกองขยะสามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้
- เศษอาหาร เศษผัก เศษผลไม้ (Garbage)
- กระดาษ (Paper)
- พลาสติกและโฟม (Plastic and fome)
- ยาง (Rubber)
- หนัง (Leather)
- ผ้า (Textile)
- ไม้ (Wood)
- แก้ว (Glass)
- โลหะ (Metal)
- หิน กระเบื้อง (Stone and Ceramic)
- ขยะอันตราย เช่นถ่านไฟฉาย หลอดฟลูออเรสเซนต์ กระป๋องบรรจุสารเคมี
- อื่นๆตามที่สังเกตได้จากกองขยะ

การคำนวณ
C = Wi / W X 100
โดยที่
C = ร้อยละขององค์ประกอบแต่ละประเภท
Wi = น้ำหนักขยะแต่ละประเภท
W = น้ำหนักขยะรวม

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาองค์ประกอบของขยะ
2. เพื่อให้นักศึกษาได้รู้วิธีการหาค่าร้อยละของขยะแต่ละประเภท


อุปกรณ์ในการวิเคราะห์
1. ผ้ายาง พลาสติกปูโต๊ะ หรือพื้น สำหรับแยกประเภทขยะ
2. ถุงมือยาง
3. หน้ากากกันฝุ่นและกลิ่น
4. ถาดอลูมิเนียม หรือถุงพลาสติก
5. เครื่องชั่งน้ำหนัก
6. ปากคีบ


วิธีการทดลอง
1. นำตัวอย่างขยะที่ได้จากการ Quartering สุ่มตัวอย่างขยะมาประมาณ 50-100 ลิตร ชั่งน้ำหนักขยะทั้งหมด
2. คัดเลือกขยะแต่ละประเภท และชั่งน้ำหนัก
3. หรือจะวิเคราะห์องค์ประกอบแห้ง หลังจากอบขยะที่อุณหภูมิ 75 องศา – 100 องศา เป็นเวลา 4-5 วัน จนน้ำหนักขยะคงที่แล้วมาแยกองค์ประกอบออกตามประเภทต่างๆที่ได้กำหนดไว้ แล้วชั่งน้ำหนักขยะในแต่ละประเภทนั้น

ผลการทดลอง






สรุปผลการทดลอง
จากการทดลองสรุปว่าค่าร้อยละของขยะที่พบมากที่สุดคือ พลาสติกและโฟม รองลงมาก็คือเศษใบไม้ จึงแสดงให้เห็นว่ามีการทิ้งพลาสติกและโฟมเป็นจำนวนมาก


วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ปฏิบัติการที่ 3 ความแน่นหนา (Density)


ทฤษฎีเพิ่มเติม
ค่าความหนาแน่นของขยะ คือ สัดส่วนของน้ำหนักของขยะต่อปริมาตรที่ขยะนั้นบรรจุอยู่ แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือความหนาแน่นปกติ (Bulk Density) และความหนาแน่นขยะขนส่ง (Transported Density)
ความหนาแน่นปกติ หมายถึง ค่าความหนาแน่นของขยะในภาชนะเก็บรวบรวมขยะซึ่งตามปกติจะมีการอัดให้แน่นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ความหนาแน่นในขณะขนส่ง หมายถึง ความหนาแน่นของขยะในรถยนต์เก็บขนขณะในขณะขนส่งขยะซึ่งตามปกติจะถูกทำให้แน่นจากการสั่นสะเทือนและจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ที่เก็บขน
การคำนวณ
ค่าความหนาแน่นปกติ D = W2 – W1 / V
โดยที่
D = ความหนาแน่นปกติ
W1 = น้ำหนักภาชนะตวงขยะเปล่า
W2 = น้ำหนักภาชนะตวงขยะที่มีขยะ
V = ปริมาตรภาชนะตวง
หน่วยความหนาแน่นคือ กิโลกรัมต่อลิตร หรือตันต่อลูกบาศก์เมตร

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักศึกษาได้รู้วิธีการหาค่าความหนาแน่นของขยะ
2. เพื่อศึกษาว่าขยะมีการอัดตัวกันแน่นเท่าใด

อุปกรณ์ในการวิเคราะห์
1. ภาชนะตวงขยะความจุ 50 – 100 ลิตร
2. เครื่องชั่งน้ำหนัก
3. อุปกรณ์สำหรับคลุกเคล้าขยะ
4. ถุงมือ หน้ากากสวมป้องกันฝุ่น


วิธีการทดลอง
1. ชั่งน้ำหนักถังตวงเปล่า
2. นำขยะที่ได้จากการ Quartering และผ่านการคลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน จนเหลือประมาณ 50 ลิตร ใส่ภาชนะตวงขยะ
3. ยกภาชนะตวงขยะสูงจากพื้น 30 ซม. แล้วปล่อยให้กระแทกกับพื้น 3 ครั้ง หากปริมาณขยะในภาชนะตวงลดลงกว่าระดับที่กำหนดให้เติมขยะลงไปจนได้ระดับโดยไม่มีการอัดเพิ่ม
4. ชั่งน้ำหนักภาชนะตวงที่มีขยะ
5. ทดลองหาค่าความหนาแน่นตามวิธีการตามข้อ1-4 หลายๆครั้ง เพื่อหาค่าเฉลี่ย

ผลการทดลอง
ตัวอย่างที่ ปริมาณภาชนะ(V) น้ำหนักภาชนะเปล่า น้ำหนักภาชนะที่มีขยะ ความหนาแน่น
1----------------- 22 kg----------------- 1 kg--------------- 2.1 kg---------- 0.05
2----------------- 22 kg----------------- 1 kg--------------- 2.2 kg---------- 0.055
3----------------- 22 kg----------------- 1 kg--------------- 2.2 kg---------- 0.055
เฉลี่ย------------ 22 kg------------- 1 kg------------ 2.1 kg---------- 0.05




สรุปผลการทดลอง
จากการทดลองการหาความหนาแน่นพบว่า ค่าความหนาแน่นที่ได้ เท่ากับ 0.05

ปฏิบัติการที่ 2 การหาขนาด (Size)


ทฤษฎีเพิ่มเติม
ขนาดของขยะ หมายถึง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของขยะที่ทำการวิเคราะห์

สูตรการคำนวณ การคำนวณขนาดมูลฝอย = น้ำหนักขยะแต่ละขนาด x 100 / น้ำหนักขยะรวมทั้งหมด


วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักศึกษาได้รู้จักวิธีการหาขนาดของขยะ
2. เพื่อนักศึกษาสามารถคำนวณหาขนาดของขยะมูลฝอย

อุปกรณ์ในการวิเคราะห์
1. เครื่องร่อนขยะ
2. อุปกรณ์ตักขยะ
3. ภาชนะรวบรวมฝอย
4. เครื่องชั่งน้ำหนัก
5. หน้ากากสวมป้องกันฝุ่น
6. ถุงมือยาง


วิธีการทดลอง
1. นำตัวอย่างขยะที่ได้จากการ Quartering จนเหลือประมาณ 50 ลิตร มาชั่งน้ำหนักแล้วบันทึกข้อมูลไว้
2. จากนั้นก็ตักขยะใส่ในเครื่องร่อนชั้นบนสุดโดยให้ตะแกรงขนาดใหญ่อยู่ชั้นบนสุด
3. เขย่าให้ขยะตกลงมาตามช่องของตะแกรงร่อนเมื่อตักขยะใส่ตะแกรงร้อนจนหมดแล้วเขย่าจนไม่มีขยะตกลงมาแล้ว
4. จึงตักขยะที่ได้ในแต่ละช่องใส่ภาชนะแล้วชั่งน้ำหนัก
5. จึงได้ขยะที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 ขนาด คือ 37.5 มม. 19 มม. 9.5 มม. 2 มม.

ผลการทดลอง
น้ำหนักขยะ------(Kg)
ชั้นที่เกินขนาด ----1.08
ชั้นที่ 1---------0.9
2------------0.3
3------------0.6
4------------0.18
5------------0.22
รวม-----------3.28


ผลจากการคำนวณ
ขนาด (mm---น้ำหนักที่ค้าง (kg----% ของมวลรวม
> 37.5---------1.98-------------60.27
37.5-----------0.3--------------9.15
19-------------0.6-------------18.29
9.5------------0.18-------------5.49
2--------------0.22-------------6.71
รวม------------3.28--------------100

สรุปผลการทดลอง
จากการทดลองการหาขนาดของขยะพบว่าขยะที่ได้มีขนาดที่ใหญ่มากกว่า 37.5 มม. รองลงมาก็จะเป็นขนาด 19 มม. และขนาดที่เล็กที่สุดเป็นขนาด 9.5 มม.

ปฏิบัติการที่ 1 การสุ่มตัวอย่าง


ทฤษฎีเพิ่มเติม
เนื่องจากขยะประกอบด้วยสิ่งของต่างๆหลายชนิด ซึ่งมิได้มีการผสมเป็นเนื้อเดียวกัน ดังนั้นการสุ่มตัวอย่างขยะจำเป็นต้องทำอย่างเป็นระบบ เพื่อให้มีลักษณะองศ์ประกอบเหมือนกับขยะทั้งหมด และสามารถใช้เป็นตัวแทนของขยะที่ต้องการวิเคราะห์ได้ต้องพยายามทำให้ขยะรวมเป็นเนื้อเดียวกันให้มากที่สุด เพื่อให้ลักษณะขององศ์ประกอบของขยะเหมือนๆกันทุกส่วน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักศึกษาได้รู้วิธีการสุ่มตัวอย่างของขยะ
2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถ ทำ Quartering ได้
3. เพื่อให้นักศึกษาได้รู้ประเภทของขยะแต่ละชนิด

อุปกรณ์ในการวิเคราะห์
1. อุปกรณ์ในการคลุกเคล้าขยะ เช่น พลั่ว จอบ เป็นต้น
2. เชือกสำหรับแบ่งขยะ
3. ถังที่ทราบปริมาณแน่นอนเพื่อตวงขยะ
4. เครื่องชั่งน้ำหนัก
5. ถุงมือ
6. ผ้าปิดจมูก
7. ถุงดำ
8. ผ้ายางสำหลับรองพื้น

วิธีการทดลอง
1. การเก็บตัวอย่างขยะกระทำได้โดย สุ่มตัวอย่างขยะจากแหล่งกำเนิดต่างๆหรือจากรถเก็บขนขยะทุกคัน ทำการเก็บตัวอย่างจากหลายๆจุดของแหล่งกำเนิดหรือจากรถเก็บขนจนแน่ใจว่าขยะที่ได้เป็นตัวแทนที่เหมาะสมจากกองขยะเหล่านั้น สุ่มตัวอย่างขยะประมาณ 1 ลบ.ม.
2. นำขยะทั้งหมดที่ได้มาประมาณ 1-2 ลบ.ม. มาเทกองร่วมกันบนอุปกรณ์ปูพื้นที่ได้เตรียมไว้ ทำการคลุกเคล้าให้องศ์ประกอบต่างๆกระจายกันอย่างทั่วถึง นำขยะมากองรวมกันแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันมากที่สุด
3. กองขยะในลักษณะสมมาตรรูปกรวย แบ่งกองขยะออกเป็น 4 ส่วน (Quartering) เลือก 2 ส่วนที่กองอยู่ตรงกันข้ามมาร่วมกัน ส่วนที่เหลือแยกทิ้งไป แล้วคลุกให้เข้ากันอีกครั้ง ให้องศ์ประกอบต่างๆ กระจายอย่างสม่ำเสมอ ส่วนที่เหลือให้แยกออกแล้วนำกลับไปทิ้ง
4. ทำ Quartering ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งได้ตัวอย่างขยะในปริมาณที่ต้องการโดยปกติจะเหลือตัวอย่างขยะไว้ประมาณ 50 ลิตร หรือ 15 กิโลกรัม แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของปริมาตรตู้อบหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ แล้วจึงนำตัวอย่างขยะที่ได้ไปวิเคราะห์องค์ประกอบหรือลักษณะอื่นๆต่อไป





ผลการทดลอง
สุ่มเก็บตัวอย่างจากสถานที่ต่างๆ คือ บริเวณ
1. โรงอาหารมหาวิทยาลัย
2. สนามกีฬา
3. ห้องสมุดกลาง
4. อื่นๆ

สรุปผลการทดลอง
จากการทดลองสรุปว่าการสุ่มเก็บขยะจากที่ต่างๆจะได้ขยะที่แตกต่างกันออกไป เช่น บริเวณโรงอาหารก็จะได้ขยะประเภทเศษอาหารเครื่องดื่มต่างๆ บริเวณสนามกีฬาก็จะได้พวกขวดน้ำ บริเวณห้องสมุดกลางก็จะได้เศษกระดาษ และบริเวณอื่นๆก็จะได้เศษของใบไม้

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

1. บรรยายความรูสึกการจัดการมูลฝอยในมุมมอง

การจัดการขยะมูลฝอย คือ การกำจัดสิ่งปฎิกูลต่างๆ เป็นการทำลายหรือการจัดระเบียบของขยะมูลฝอยต่างๆ เช่น สิ่งที่ต้องนำไปทำลายก็ต้องนำไปทำลาย สิ่งที่ต้องนำมารีไซเคิ่ลก็ต้องนำกลับมารีไซเคิ่ล เป็นต้น

ความคิดเห็น - น่าจะมีการจัดระเบียบขยะมูลฝอยที่ดีกว่านี้และน่าจะมีการทำให้เกิดผลกระทบต่อโลกน้อยที่สุด

2. อธิบายบทบาทวิศวกรสิ่งแวดล้อมต่อการจัดการขยะ

หน้าที่ของวิศวกรสิ่งแวดล้อมต่อการจัดการขยะคือ การออกแบบการจัดการต่างๆการทำให้ปริมาณขยะลดน้อยลง หาวิธีหรือแนวทางใหม่ๆมาจัดการเพื่อลดปัญหาภาว่ะโลกร้อน
images by uppicweb.com
Thanks: ฝากไฟล์รูปฝาก จดโดเมน